วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

3.3 ยุค 5G/6G , Iot , AI

              ❤3.3 ยุค  5G/6G ,  Iot  , AI❤

5G เป็นคำใช้เรียกเทคโนโลยีสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือในยุคที่ 5 ถัดมาจาก 2G GSM (Global System for Mobile) 3G UMTS (Universal Mobile Telecomunications System) และ 4G LTE (Long Term Evolution) โดย 5G นั้นถูกพัฒนาขึ้นเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดการใช้งานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ตอบสนองต่อความต้องการทางด้านธุรกิจและการดำเนินชีวิตในอนาคต โดยมีคำใช้เรียกเพื่อให้เข้าใจและจดจำถึงความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาใน 5G อยู่ 3 คำ คือ

– eMBB ย่อมาจาก Enhanced Mobile Broadband
– URLLC ย่อมาจาก Ultra-Reliable Low-Latency Communication
– mMTC ย่อมาจาก Massive Machine-Type Communication

i0tที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันบ่อยๆ มักจะมาในรูปแบบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รอบตัวของเรานั่นเอง หากสังเกตดีๆ เราจะเห็นความหมายในตัวของมันว่า IoT คือ การที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานเชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟนและเซ็นเซอร์ที่คอยตรวจจับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ลองมาดูตัวอย่างกัน
  • การเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ โดยตรวจจับความมืดและความสว่าง
  • รถยนต์คุยกัน หากรถยนต์มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รถยนต์ก็สามารถแจ้งเตือนผู้ขับขี่ให้หลีกเลี่ยงเส้นทางนั้นได้ หรือถ้าล้ำไปอีก ในกรณีที่รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ก็จะหลบหลีกเส้นทางที่มีอุบัติเหตุอัตโนมัติ
  • การตรวจจับพยากรณ์อากาศ เช่น ราวตากผ้าอัจฉริยะ ที่สามารถรับรู้ข้อมูลพยากรณ์อากาศ หากมีฝนตก ราวตากผ้าจะทำการเคลื่อนที่ไปยังที่ร่มทันที
  • กล้อง CCTV ที่สามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติได้ ถึงแม้จะอยู่ในที่มืด เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น ระบบก็จะส่งข้อมูลไปยังสมาร์ทโฟน เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ

การทำงานของ IoT ต้องทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์หรือ RFID ที่เปรียบเหมือนสมองสั่งการให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และต้องผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเท่านั้น



AI (เอไอ) คืออะไร วิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์

   

คำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

  • การกระทำคล้ายมนุษย์ Acting Humanly (แอคติ่ง ฮูแมนลี่) การสร้างเครื่องจักรที่ทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญาเมื่อกระทำโดยมนุษย์
  •  สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ
  •  มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัส แล้วนำภาพไปประมวลผล
  • เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการ ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
  •  เรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

การคิดคล้ายมนุษย์ Thinking Humanly (แทงกิง ฮูแมนลี่)

  • กลไกของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้
  • ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science (คลอนิทีฟ ไซอิน) เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

คิดอย่างมีเหตุผล Thinking rationally (แทงกิง ราสโนรี่)

  • การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ
  • การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ
  • ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

กระทำอย่างมีเหตุผล Acting rationally (แอคติง ราสโนรี่)

  • การศึกษาเพื่อออกแบบโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่มีปัญญา
  • พฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
  • การเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น โปรแกรมเล่นเกมหมากรุก ที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้
  • ตัวอย่างงานด้าน AI (เอไอ) ปัญญาประดิษฐ์
  • การวางแผน และการจัดตารางเวลาอัตโนมัติ autonomous planning and scheduling (ออโทโนมัส แพนนิง แอน แซกดูลิ่ง) ตัวอย่างที่สำคัญคือ โปรแกรมควบคุมยานอวกาศระยะไกลขององค์การ NASA (นาซา)
  • game playing (เกมส์ เพล์อิ่ง) เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Deep Blue (ดีพบลู) ของบริษัทไอบีเอ็ม เป็นโปรแกรมเล่นเกมหมากรุก สามารถเอาชนะคนที่เล่นหมากรุกได้เก่งที่สุดคือ Garry Kasparov (แกรี่ คาสปารอฟ) ด้วยคะแนน 3.5 ต่อ 2.5 ในเกมการแข่งขันหาผู้ชนะระดับโลก เมื่อปี ค.ศ. 1997
  • การควบคุมอัตโนมัติ autonomous control (ออโทโนมัส คอนโทล) เช่น ระบบ ALVINN : Autonomous Land Vehicle In a Neural Network (ออโทโนมัส แลน วีคลอ อิน อนูเรอร์ เน็ตเวิก) เป็นระบบโปรแกรมที่ทำงานด้านการมองเห็นหรือคอมพิวเตอร์วิทัศน์ computer vision system (คอมพิวเตอร์ วิชัน ซิสเต็ม) โปรแกรมนี้จะได้รับการสอนให้ควบคุมพวงมาลัยให้รถแล่นอยู่ในช่องทางอัตโนมัติ
  • การวินิจฉัย diagnosis (ไดนอสิส) เป็นการศึกษาเรื่องสร้างระบบความรู้ของปัญหาเฉพาะอย่าง เช่น การแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของระบบนี้คือทำให้เสมือนมีมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและคำตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ
  • หุ่นยนต์ robotics (โรบอทติก) เช่น หุ่นยนต์ ASIMO (อาสิโม) หุ่นยนต์จิ๋วช่วยในการผ่าตัด
  • การแก้โจทย์ปัญหา problem solving (พลอมแพม โซวิ่ง) เช่น โปรแกรม PROVERB (โปรบิส) ที่แก้ปัญหาเกมปริศนาอักษรไขว้ ซึ่งทำได้ดีกว่ามนุษย์

ตัวอย่าง AI ในโลกของภาพยนต์
   ภาพยนต์เรื่องต่าง ๆ เช่น Terminator (ทรานฟรอเมอร์), Surrogates (ซักโรเลต), iRobot (ไอโรบอท) หรือ Minority Report (มิโลนิตี้ รีพอร์ต) เป็นต้น จะได้เห็นการทำงานของหุ่นยนตร์ที่มีปัญญาที่คิดได้เอง และสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ทั้งดีหรือไม่ดี


   สรุปแล้ว AI (เอไอ) นั้นถูกเอามาใช้ในงานแทนมนุษย์หลายอย่าง เช่น Call Center (คอล เซนเตอร์) ต่าง ๆ เพื่อลดการใช้แรงงานคน และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า แต่อนาคต AI จะสามารถมาแทนการทำงานที่ซับซ้อนของคนได้แน่นอน เช่น การวางแผน การทำกลยุทธ์ทางการตลาด และการสร้างเนื้องาน Content (คอนเทน) ต่าง ๆ
ฉะนั้นการเรียนรู้ที่จะปรับตัว และเรียนรู้ที่จะใช้ AI ให้เป็นประโยชน์นั้นจะมีความสำคัญมากต่อธุรกิจในอนาคต และทำให้ธุรกิจนั้นมีความได้เปรียบนั้นอย่างแน่นอน และในท้ายพารากราฟเราก็มีบทความดีดีที่อยากให้ทุกท่านได้ไปศึกษาเพิ่มเติม เริ่มจาก AI software (เอไอ ซอฟแวร์) คืออะไร เพื่อที่ตะทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของ AI มากขึ้น และ AI of Everything (เอไอ ออฟ เอเวอรี่ติง) ถ้าคุณได้ศึกษาสิ่งนี้เป็นสิ่งที่อาจจะเปลี่ยนชีวิตเดิมๆไปตลอดกาล




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฟอร์มของ น.ส.ศิริกานดา แสงโสด

  กำลังโหลด…