วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563

สรุป โควิด-19

 Covid-19


            โรค COVID-19 คือ โรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งพบการระบาดในช่วงปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยในตอนนั้นเราจะรู้จักกันโรคนี้ในชื่อว่า ไวรัสอู่ฮั่น ก่อนที่ภายหลังจะระบุเชื้อก่อโรคได้ว่าเป็นเชื้อในตระกูลโคโรนาไวรัส แต่เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น ทางองค์การอนามัยโลก จึงได้ตั้งชื่อโรคติดต่อชนิดนี้ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยมีชื่อว่า COVID-19  เพื่อไม่ให้เกิดรอยมลทินกับพื้นที่ที่เกิดการระบาดของโรคด้วย


            ข้อมูลจาก ศนพ.ธีระรัฒน์ เหมะจุฑา เผยว่า เชื้อโคโรนาไวรัสจะมีชีวิตอยู่ได้ที่อุณหภูมิประมาณ 20-40 องศาเซลเซียส โดยสามารถอยู่บนพื้นผิวได้นานถึง 20 วัน ในสภาพอากาศเย็น และในสภาพอากาศร้อน เชื้อไวรัสจะอยู่ได้ 3-9 วัน


            เชื้อไวรัสตัวนี้ไม่ทนความร้อน ดังนั้นแค่เจออุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ก็ทำให้เชื้อตายได้ นอกจากนี้เชื้อไวรัสตัวนี้ยังจะตายได้ง่าย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 70% และการทำความสะอาดด้วยสบู่อย่างเหมาะสม กล่าวคือ ล้างมือด้วยสบู่เป็นระยะเวลา 15-30 วินาที รวมไปถึงสารลดแรงตึงผิวต่าง ๆ เช่น ผงซักฟอก สารฟอกขาว (Sodium hypochlorite) ที่ความเข้มข้น 0.1-0.5% โพวิโด ไอโอดีน 1% หรือไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ 0.5-7.0% เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แหละที่โคโรนาไวรัสจะไม่ทน เพราะไวรัสชนิดนี้มีไขมันหุ้มอยู่ด้านนอก ดังนั้น หากใช้สารลดแรงตึงผิวทำลายไขมันที่หุ้มอยู่ได้ ก็จะฆ่าไวรัสได้

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

3.3 ยุค 5G/6G , Iot , AI

              ❤3.3 ยุค  5G/6G ,  Iot  , AI❤

5G เป็นคำใช้เรียกเทคโนโลยีสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือในยุคที่ 5 ถัดมาจาก 2G GSM (Global System for Mobile) 3G UMTS (Universal Mobile Telecomunications System) และ 4G LTE (Long Term Evolution) โดย 5G นั้นถูกพัฒนาขึ้นเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดการใช้งานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ตอบสนองต่อความต้องการทางด้านธุรกิจและการดำเนินชีวิตในอนาคต โดยมีคำใช้เรียกเพื่อให้เข้าใจและจดจำถึงความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาใน 5G อยู่ 3 คำ คือ

– eMBB ย่อมาจาก Enhanced Mobile Broadband
– URLLC ย่อมาจาก Ultra-Reliable Low-Latency Communication
– mMTC ย่อมาจาก Massive Machine-Type Communication

i0tที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันบ่อยๆ มักจะมาในรูปแบบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รอบตัวของเรานั่นเอง หากสังเกตดีๆ เราจะเห็นความหมายในตัวของมันว่า IoT คือ การที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานเชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟนและเซ็นเซอร์ที่คอยตรวจจับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ลองมาดูตัวอย่างกัน
  • การเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ โดยตรวจจับความมืดและความสว่าง
  • รถยนต์คุยกัน หากรถยนต์มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รถยนต์ก็สามารถแจ้งเตือนผู้ขับขี่ให้หลีกเลี่ยงเส้นทางนั้นได้ หรือถ้าล้ำไปอีก ในกรณีที่รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ก็จะหลบหลีกเส้นทางที่มีอุบัติเหตุอัตโนมัติ
  • การตรวจจับพยากรณ์อากาศ เช่น ราวตากผ้าอัจฉริยะ ที่สามารถรับรู้ข้อมูลพยากรณ์อากาศ หากมีฝนตก ราวตากผ้าจะทำการเคลื่อนที่ไปยังที่ร่มทันที
  • กล้อง CCTV ที่สามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติได้ ถึงแม้จะอยู่ในที่มืด เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น ระบบก็จะส่งข้อมูลไปยังสมาร์ทโฟน เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ

การทำงานของ IoT ต้องทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์หรือ RFID ที่เปรียบเหมือนสมองสั่งการให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และต้องผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเท่านั้น



AI (เอไอ) คืออะไร วิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์

   

คำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

  • การกระทำคล้ายมนุษย์ Acting Humanly (แอคติ่ง ฮูแมนลี่) การสร้างเครื่องจักรที่ทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญาเมื่อกระทำโดยมนุษย์
  •  สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ
  •  มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัส แล้วนำภาพไปประมวลผล
  • เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการ ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
  •  เรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

การคิดคล้ายมนุษย์ Thinking Humanly (แทงกิง ฮูแมนลี่)

  • กลไกของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้
  • ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science (คลอนิทีฟ ไซอิน) เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

คิดอย่างมีเหตุผล Thinking rationally (แทงกิง ราสโนรี่)

  • การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ
  • การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ
  • ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

กระทำอย่างมีเหตุผล Acting rationally (แอคติง ราสโนรี่)

  • การศึกษาเพื่อออกแบบโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่มีปัญญา
  • พฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
  • การเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น โปรแกรมเล่นเกมหมากรุก ที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้
  • ตัวอย่างงานด้าน AI (เอไอ) ปัญญาประดิษฐ์
  • การวางแผน และการจัดตารางเวลาอัตโนมัติ autonomous planning and scheduling (ออโทโนมัส แพนนิง แอน แซกดูลิ่ง) ตัวอย่างที่สำคัญคือ โปรแกรมควบคุมยานอวกาศระยะไกลขององค์การ NASA (นาซา)
  • game playing (เกมส์ เพล์อิ่ง) เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Deep Blue (ดีพบลู) ของบริษัทไอบีเอ็ม เป็นโปรแกรมเล่นเกมหมากรุก สามารถเอาชนะคนที่เล่นหมากรุกได้เก่งที่สุดคือ Garry Kasparov (แกรี่ คาสปารอฟ) ด้วยคะแนน 3.5 ต่อ 2.5 ในเกมการแข่งขันหาผู้ชนะระดับโลก เมื่อปี ค.ศ. 1997
  • การควบคุมอัตโนมัติ autonomous control (ออโทโนมัส คอนโทล) เช่น ระบบ ALVINN : Autonomous Land Vehicle In a Neural Network (ออโทโนมัส แลน วีคลอ อิน อนูเรอร์ เน็ตเวิก) เป็นระบบโปรแกรมที่ทำงานด้านการมองเห็นหรือคอมพิวเตอร์วิทัศน์ computer vision system (คอมพิวเตอร์ วิชัน ซิสเต็ม) โปรแกรมนี้จะได้รับการสอนให้ควบคุมพวงมาลัยให้รถแล่นอยู่ในช่องทางอัตโนมัติ
  • การวินิจฉัย diagnosis (ไดนอสิส) เป็นการศึกษาเรื่องสร้างระบบความรู้ของปัญหาเฉพาะอย่าง เช่น การแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของระบบนี้คือทำให้เสมือนมีมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและคำตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ
  • หุ่นยนต์ robotics (โรบอทติก) เช่น หุ่นยนต์ ASIMO (อาสิโม) หุ่นยนต์จิ๋วช่วยในการผ่าตัด
  • การแก้โจทย์ปัญหา problem solving (พลอมแพม โซวิ่ง) เช่น โปรแกรม PROVERB (โปรบิส) ที่แก้ปัญหาเกมปริศนาอักษรไขว้ ซึ่งทำได้ดีกว่ามนุษย์

ตัวอย่าง AI ในโลกของภาพยนต์
   ภาพยนต์เรื่องต่าง ๆ เช่น Terminator (ทรานฟรอเมอร์), Surrogates (ซักโรเลต), iRobot (ไอโรบอท) หรือ Minority Report (มิโลนิตี้ รีพอร์ต) เป็นต้น จะได้เห็นการทำงานของหุ่นยนตร์ที่มีปัญญาที่คิดได้เอง และสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ทั้งดีหรือไม่ดี


   สรุปแล้ว AI (เอไอ) นั้นถูกเอามาใช้ในงานแทนมนุษย์หลายอย่าง เช่น Call Center (คอล เซนเตอร์) ต่าง ๆ เพื่อลดการใช้แรงงานคน และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า แต่อนาคต AI จะสามารถมาแทนการทำงานที่ซับซ้อนของคนได้แน่นอน เช่น การวางแผน การทำกลยุทธ์ทางการตลาด และการสร้างเนื้องาน Content (คอนเทน) ต่าง ๆ
ฉะนั้นการเรียนรู้ที่จะปรับตัว และเรียนรู้ที่จะใช้ AI ให้เป็นประโยชน์นั้นจะมีความสำคัญมากต่อธุรกิจในอนาคต และทำให้ธุรกิจนั้นมีความได้เปรียบนั้นอย่างแน่นอน และในท้ายพารากราฟเราก็มีบทความดีดีที่อยากให้ทุกท่านได้ไปศึกษาเพิ่มเติม เริ่มจาก AI software (เอไอ ซอฟแวร์) คืออะไร เพื่อที่ตะทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของ AI มากขึ้น และ AI of Everything (เอไอ ออฟ เอเวอรี่ติง) ถ้าคุณได้ศึกษาสิ่งนี้เป็นสิ่งที่อาจจะเปลี่ยนชีวิตเดิมๆไปตลอดกาล




3.2Big Data


                                                            ❤ Big Data❤

   Big Data คือ ข้อมูลจำนวนมากมหาศาลของบริษัททุกเรื่อง ทุกแง่มุม ทุกรูปแบบที่คุณพอจะนึกออก ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ในตารางข้อมูลต่างๆ หรืออาจเป็นข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data)  เช่น ล็อกไฟล์ (Log files) หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อมูลการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น Facebook, twitter หรือ ไฟล์จำพวกมีเดีย เป็นต้น โดยอาจจะเป็นข้อมูลที่มาจากภายในองค์กร และภายนอกที่มาจากการติดต่อกับ Supplier หรือจากทุกช่องทางการติดต่อกับลูกค้า แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงข้อมูลดิบที่รอการนำมาประมวลและวิเคราะห์ เพื่อนำผลที่ได้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรบางอย่างแฝงอยู่



คุณลักษณะของ Big Data 

  1. ที่มีปริมาณมาก (Volume) ปัจจัยข้อแรกแน่นอนว่าคำว่า Big Data มีคำว่า “Big” นั่นก็คือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป
  2. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ส่งผ่านข้อมูล Update กันอย่างต่อเนื่อง (Real-time) จนทำให้การวิเคราะห์ง่ายๆแบบ Manual เกิดข้อจำกัด หรือไม่สามารถจับรูปแบบหรือทิศทางของข้อมูลได้
  3. หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) หมายถึงรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร วิดีโอ รูปภาพ ไฟล์ต่างๆ ฯลฯ และหลากหลายแหล่งที่มาเช่น Social Network หรือ Platform E- Commerce ต่างๆ
  4. ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) ยังไม่ผ่านการ Process ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่สามารถใช้สร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้ 






3.1วิทยาการข้อมูล(data science)

เว็บบล็อกของนักเรียนม.5/2กลุ่ม1: 1.2 วิทยาการข้อมูล (Data Science)

  วิทยาการข้อมูล(data science)

เป็นสหสาขาวิชาที่ใช้วิธีการ กระบวนการ อัลกอริทึม และระบบทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อหาความรู้จากข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ทั้งจัดเก็บเป็นระเบียบและไม่เป็นระเบียบ เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองข้อมูล การเรียนรู้เชิงลึก และข้อมูลขนาดใหญ่

วิทยาการข้อมูลเป็นศาสตร์ที่เป็นการบูรณาการสถิติศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการเรียนรู้ของเครื่องเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในข้อมูลได้ใช้เทคนิคและทฤษฎีที่ได้มาจากคณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิทยาการสารสนเทศ

วิทยาการข้อมูลเป็นสหสาขาวิชาที่มุ่งเน้นการหาความรู้จากกลุ่มข้อมูลซึ่งส่วนมากมักมีขนาดใหญ่ ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ วิเคราะห์ และนำเสนอสิ่งที่ค้นพบให้กับผู้มีอำนาจใจการตัดสินใจในองค์กร จึงต้องใช้ทักษะทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ การออกแบบกราฟิก และธุรกิจ วิทยาการข้อมูลเป็นศาสตร์ที่กำลังเติบโต นักวิทยาการข้อมูลเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับเงินเดือนระดับที่สูงมาก

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปความรู้ "ข้อมูลมีค่า"

Spotify

Spotify เป็นแพลตฟอร์มฟังเพลงออนไลน์ จากประเทศสวีเดน
เริ่มให้บริการเมื่อปี 2006 หรือ 14 ปีที่แล้ว สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Spotify เป็นอย่างมาก
คือการนำเอาเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) มาวิเคราะห์ประวัติการฟังเพลงในอดีต
เพื่อแนะนำ Playlist ที่น่าจะเหมาะกับความชอบส่วนตัวของแต่ละคน ในขณะเดียวกัน ผลการดำเนินงานของ Spotify ก็ได้เติบโตตามฐานลูกค้า
รวมทั้งมีผลขาดทุนน้อยลงกว่าเดิมมาก แต่จากการที่ Streaming ได้กลายเป็นเทรนด์การฟังเพลงของคนรุ่นใหม่
ทำให้มีผู้เล่นรายใหญ่เข้ามาแข่งขันในตลาดนี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Apple, Amazon, Tencent, YouTube
Spotify จึงปรับกลยุทธ์ เพื่อดึงดูดให้คนยังอยู่บนแพลตฟอร์มตัวเอง
ด้วยการขยายคอนเทนต์เสียงในรูปแบบอื่นนอกเหนือจากเพลง ซึ่งก็คือ Podcast โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา Spotify ได้หันมาซื้อกิจการในอุตสาหกรรม Podcast อย่างจริงจัง
เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019
ซื้อบริษัท Gimlet Media สตูดิโอผลิตรายการ Podcast ด้วยมูลค่า 6,100 ล้านบาท
เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการพัฒนา Original Content
และซื้อบริษัท Anchor ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Podcast ด้วยมูลค่า 4,800 ล้านบาท
เพื่อยกระดับคุณภาพในการเสนอรายการ
เดือนเมษายน ปี 2019
ซื้อบริษัท Parcast สตูดิโอผลิตรายการ Podcast แนวซีรีส์นิยายสืบสวน ด้วยมูลค่า 1,700 ล้านบาท
เพื่อเพิ่มเนื้อหาคอนเทนต์ที่สนุกและแตกต่างSpotify กำลังเติบโตจาก Podcast

แบบฟอร์มของ น.ส.ศิริกานดา แสงโสด

  กำลังโหลด…